วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบการจูนเสียงตั้งสาย ของ ukulele มีแบบไหนกันบ้างหนอ

รูปแบบการจูนเสียงตั้งสาย ของ ukulele มีแบบไหนกันบ้างหนอ


หลายๆท่าน อาจจะยังสงสัย เกี่ยวกับการตั้งเสียงจูนสาย ของ Ukulele กันอยู่นะค่ะ โดยเฉพาะ เมื่อเวลา เราไปลองหัดเล่นเพลงต่างๆ จาก Tab ที่มีการระบุ ถึงตัวโน๊ตไว้ด้วย ซึ่งส่วนมาก ก็จะเห็นการระบุว่าเป็น C Tuning (GCEA) แต่บางครั้ง เราก็อาจเห็นว่ามีการระบุเป็น C Tuning Low G หรือบางที ก็เห็นการจูนที่แตกต่างกันไปเลย เช่น D Tuning (ADF#B) หรือ นานๆที จะเห็นการจูนแบบ G Tuning (DGBE)
ถ้าจะพูดถึงเรื่อง เสียง ในการจูนให้เข้าใจได้ดี ก็ต้องเจาะลึกกันไปในเรื่องบรรทัด 5 เส้น และตัวโน็ต กันเลยล่ะครับ และต้องอธิบายกันยาว

ดังนั้น ขอเกริ่นนำ ถึงที่มาที่ไปของการจูนแบบต่างๆกันก่อนล่ะกันนะค่ะ เพื่อจะได้รู้ ว่ามันเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงมีการจูนหลายแบบจัง ฯลฯ
 ก่อนอื่น ก็ต้องย้อนประวัติกันนิดนะค่ะ คือ รูปแบบดั้งเดิมของ Ukulele เลย จะมีการจูนแบบ C Tuning โดยจูนเป็น GCEA เพียงอย่างเดียวเลยค่ะ เพราะในตอนนั้น มีขนาดมาตราฐานเพียงขนาดเดียว คือ Soprano เท่านั้นครับ ซึ่งจนปัจจุบันนี้บางที่ ก็เลยยังคงเรียกว่า ไซส์ Standard ครับ

แล้วที่นี้ อยู่ไปอยู่มา ก็เริ่มมีนักดนตรี ที่เขาคิดกันว่า ถ้าจูนแบบดั้งเดิม มันได้เสียงตัวโน๊ตบน fingerboard น้อยไปหน่อย หรือรูปแบบในการเล่นตัวโน็ตบน fingerboard ยังไม่สะดวก ต่อการขยับนิ้วซักเท่าไหร่ ฯลฯ

จึงได้มีการคิดค้น ขยับขยายกัน โดยเริ่มกันที่ขนาดกันก่อนเลยค่ะ  โดยเริ่มมีการทำไซส์ Concert เพื่อขยายความกว้างของช่วงห่างระหว่าง fret ให้วางนิ้วกันได้ง่ายขึ้น แล้วเพิ่ม fret เข้ามาบน fingerboard เพื่อเป็นการเพิ่มตัวโน๊ตขึ้น พร้อมกับขนาดตัวบอดี้ที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เสียงกังวาลขึ้น แต่ก็ยังไม่พอใจ ก็ขยับมาเป็นขนาด Tenor กันอีก จนกลายเป็นไซส์ ที่นักดนตรีมืออาชีพในปัจจุบันนิยมใช้กัน
และก็ยังมีการทำ Baritone ต่อไปอีก แต่ Baritone นี้ ก็ปรับการจูนเสียง ที่ให้เหมือน 4สายล่างของ guitar ไปเลย โดยจูนเป็น G Tuning คือจูนโน๊ตเป็น DGBE

นอกจากนี้ก็ได้มีการเพิ่มการจูนแบบ D Tuning โดยจูนเป็น ADF#B ขึ้นมาสำหรับขนาด Soprano ด้วย

สรุปคือ ในการจูนเสียง Ukulele ที่มีใช้กันอยู่ ก็แยกได้เป็นสองส่วนหลักๆ กันตามขนาดค่ะ
1. การจูนสำหรับ Soprano, Concert และ Tenor
ในการจูนสำหรับ 3 ไซส์ มาตราฐานนี้ จะมีอยู่หลักๆ อยู่ 2 รูปแบบย่อยอีกค่ะ  คือ
  • C Tuning โดยจูนเป็น GCEA
  • D Tuning โดยจูนเป็น ADF#B (ส่วนมากจะใช้แต่กับรุ่น Soprano)

2. การจูนสำหรับ Baritone
จูนเป็น G Tuning โดยจูนเป็น DGBE

 ซึ่งในการจูนที่ต่างกัน ก็หมายถึงตัวโน็ตในตำแหน่งต่างๆ บน fingerboard ก็แตกต่างกันไปด้วย
อันนี้ ก็หมายความว่า เวลาเราจะจับคอร์ด ก็ต้องจับต่างกันไปด้วยโดยปริยายครับ เช่น การจับคอร์ด C ในแต่ละ Tuning ก็จะต่างกันไปตามในรูปครับ



แต่เนื่องจาก กว่า 90% ของเพลงที่ใช้เล่นกัน จะใช้ C Tuning โดยจูนเป็น GCEAเพราะมันเป็นแบบดั้งเดิมค่ะ มีเพลงเก่าๆ หลายเพลง โดยเฉพาะเพลงสไตล์ Hawaiian ที่ใช้รูปแบบการจูนแบบ C Tuning และก็กลายเป็นมาตราฐาน ให้เพลงรุ่นใหม่ๆ ก็ยังคงใช้ C Tuning กันอยู่

คนส่วนมากก็เลยหัดเล่น และนิยมเล่นกันแต่แบบ C tuning กันค่ะ  เพราะหาเพลงเล่นง่าย ประมาณว่า ใครๆ เขาก็เล่นกัน

แต่ก็นั่นแหละ ยังมีนักดนตรีบางกลุ่ม ซึ่งส่วนมาก ก็คือนักดนตรีที่เล่น กีตาร์อยู่ก่อนแล้ว มองว่า C Tuning โดยจูนเป็น GCEA เนี่ย
มันก็ดีนะ แต่มันแปลกๆ สำหรับเขากัน เพราะกีตาร์นี่ มันจะไล่จากเสียงต่ำไปเสียงสูง แต่เจ้า ukulele ดันไล่จาก High G คือเสียงสูง แล้วค่อยมาเป็นเสียงต่ำ C แล้วไล่ไปสูงต่อไป E และ A อีก

เลยคิดกันว่า ถ้าได้เป็น Low G ก็ดีนะ จะได้ไว้เล่นตัวโน๊ตแบบการเดิน Bass เหมือนที่ใช้เล่นกันเวลาเกากีตาร์กันบ้าง ก็เลยเป็นที่มาของ Low G กันครับ ซึ่งตัวโน๊ตบน fingerboard มันก็เหมือนกันกับ High G นั้นแหละครับ ต่างกันแค่ระดับเสียงที่ต่ำกว่าลงมาหนึ่งขั้น หรือที่เรียกว่า Octave แปลว่า เสียงคู่8 อันนี้ต้องไปศึกษาเรื่องตัวโน๊ตเพิ่มเติมค่ะ

ถ้าใครเล่นกีตาร์อยู่แล้ว หรือมีกีตาร์ที่บ้าน แล้วอยากรู้ว่าเสียง Low G เป็นไง ก็ให้เอา คาโป คาดไปใน fret ที่ 5 ของกีตาร์ได้เลยครับ แล้วดีดไล่ลงมาตั้งแต่ สายที่ 4,3,2,1 ครับ นั่นแหละค่ะ Ukulele Low G เลย

สรุปสั้นๆ Low G เอาไว้เล่น Solo ในแบบที่ มือกีตาร์ เขาเคยชิน กับการเกากันค่ะ เหมาะสำหรับเดินตัวโน็ตเสียง Bass เพราะเสียงมันจะออกทุ้มๆค่ะ 

สำหรับใครที่อยากลองฟัง ว่า High G กับ Low G มันต่างกันยังไง ก็เชิญชม วีดีโอด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น